google-site-verification: googleb7f6cb2897a693e4.html นวัตกรรม เพื่ออากาศบริสุทธิ์ รางวัลระดับโลก ,Airborne,LEED Building,Air Purifier,Nano,Cleaner,Bioaerosol,Bird Flu,Sars,TB,Swine Flu,nano,Electronic,filter,Best Innovation,Infection Control,Healthcare Facilities,Dust Filter
ReadyPlanet.com
dot dot
เครื่องมือจัดการคุณภาพอากาศ

 

 ภาวะมลพิษทางอากาศภายในอาคาร

หมายถึง สภาวะการที่อากาศภายในอาคารมีสิ่งเจือปนอยู่ในปริมาณและระยะเวลาที่นานพอ ที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ 

แนวทางหรือวิธีแก้ไขโดย การกำจัดหรือลดปริมาณสิ่งปนเปื้อนในอากาศให้มีปริมาณไม่มากพอที่จะทำอันตรายต่อสุขภาพ ในเวลาอันรวดเร็ว 

       หลักการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศของอาคาร,สถานพยาบาล

1.  การลดปริมาณเชื้อโรคในอากาศ โดยการระบายอากาศ
      การดูดอากาศเสีย , การเติมอากาศสะอาด
2.  กำหนดทิศทางการไหลของอากาศ (แรงลม/ความดันอากาศ)
      ภายในห้อง , ระหว่างห้อง
3.  การกรองอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.  การควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น

ข้อเท็จจริงที่ควรทราบ/ปัญหาการควบคุมคุณภาพอากาศ

  
1.     ฝุ่นละอองที่มีปัญหาจริงๆ คือฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมากๆหรือเรียกว่าอนุภาคของฝุ่น และเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กกว่า 10µm จะฟุ้งกระจายอยู่ในห้องปะปนกับอากาศที่เราหายใจเข้าไป  หากไม่มีการรบกวนใดๆจะใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะตกลงพื้น และหากเป็นห้องทำงานหรือพักอาศัย จะถูกรบกวนให้ฟุ้งกระจายหรือแทบจะไม่มีโอกาสตกลงบนพื้นเลย
2.     การดูดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่น สามารถทำได้กับฝุ่นละอองขนาดใหญ่ เนื่องจากถุงดักฝุ่นหรือแผ่นดักฝุ่นมีขนาดหยาบ เป็นไปตามตามประสิทธิภาพของถุงเก็บฝุ่น  ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กจะเล็ดรอดออกมาจากเครื่องดูดฝุ่นฟุ้งกระจายอยู่ภายในห้อง
3.     เครื่องปรับอากาศทั่วไปที่มีแผ่นกรองฝุ่นหยาบ(Pre Filter) ไม่สามารถดักกรองฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10µm ยกเว้นเครื่องปรับอากาศที่ติดแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง(HEPA) แต่ลมที่เป่าออกมาน้อยลงมาก ต้องเพิ่มกำลังพัดลมในการเป่าลมออกมา สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก
4.     กระแสลมจากเครื่องปรับอากาศ พัดลม คนทำงานในห้อง ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำให้อนุภาคของฝุ่นฟุ้งกระจายอยู่ตลอดเวลา
5.     ในห้องระบบปิดที่ปรับอากาศ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้งานภายในห้อง รวมทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ทำงาน หรือคนที่พักอาศัยอยู่ภายในห้อง ล้วนแต่มีส่วนกีดขวางการใหลของกระแสอากาศ ทำให้กระแสอากาศเกิดปั่นป่วน ฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย และเกิดมุมอับที่ไม่สามารถกำจัดฝุ่นได้
6.     ปริมาณการหมุนเวียนอากาศ(ACH)ที่มากเกินความจำเป็น จะกลายเป็นปัญหา ทำให้การใหลของอากาศไม่ราบเรียบ เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและเชื้อโรค
7.     การเติมอากาศ และหรือการดูดอากาศ ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมสัมพันธ์กันกับความต้องการของห้องนั้นๆ อาจทำให้ห้องที่ต้องการแรงดันอากาศเป็นบวกกลายเป็นลบไปได้ หรืออาจเป็นในทางกลับกัน ซึ่งจะกลายเป็นผลเสียอย่างร้ายแรง 
8.     HEPA เป็นแผ่นกรองอากาศที่ทำงานโดยใช้ความหนาแน่นของเส้นใย  มีประสิทธิภาพดักจับอนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่า0.3µm ได้ดี มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับอายุการใช้งานไม่กี่เดือน และสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมากในการผลักดันอากาศผ่านแผ่นกรอง อีกทั้งเชื้อที่ติดอยู่บนแผ่นกรองยังเจริญเติบโตขยายจำนวนได้ สามารถหลุดออกมาจากการเป่าลมในการเปิดเครื่องปรับอากาศครั้งต่อไป และถ้าเป็นห้องที่มีกลิ่นเช่นกลิ่นบุหรี่ กลิ่นสารเคมี(LAB) ยาฆ่าเชื้อ(OR) แผ่นกรองและฝุ่นที่ติดอยู่บนแผ่นกรองยังเก็บกลิ่นและปล่อยออกมาตลอดเวลาที่ใช้งาน
9.     Air Ionizer เป็นเครื่องจะยิงประจุไฟฟ้าออกไปเพื่อดูดให้อนุภาคของฝุ่นมารวมกันมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และตกลงบนพื้นเร็วขึ้น ฝุ่นและเชื้อโรคยังคงอยู่ในห้องบนโต๊ะหรือพื้นห้องไม่ได้ถูกกำจัดออกไป  และถ้ามีคนทำงาน หรือยู่อาศัยก็จะฟุ้งกระจายขึ้นมาอีก
10. UVGI หลอดจะปล่อยแสงUVออกมา บริเวณใกล้หลอดจะมีความเข้มของแสงมากกว่าบริเวณที่ห่างออกไปเรื่อยๆ จะทำงานได้ผลดีเมื่อเชื้อโรคถูกแสงUVที่มีความเข้มและระยะเวลานานเพียงพอ ระยะห่างที่นอกความเข้มของแสงที่ไม่เพียงพอ หรือมุมอับแสง ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคในอากาศได้ การนำไปใช้ให้ได้ผลต้องได้รับการออกแบบเพื่อใช้งานเฉพาะแห่ง ราคาแพงและเป็นอันตรายต่อคนมาก ไม่สามารถใช้งานขณะที่มีคนอยู่อาศัย
11. Ozone สามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศได้ดี แต่เป็นอันตรายต่อตาและระบบทางเดินหายใจของคนและสัตว์ มีอายุสั้นสลายตัวเร็ว ใช้ได้ดีกับห้องปิด แต่เมื่อเปิดห้องเข้าไปใช้งานหรือเปิดระบบระบายอากาศก็มีเชื้อโรคตามเข้ามาอยู่ดี และไม่สามารถกำจัดฝุ่นได้แต่อย่างใด การนำไปใช้งานต้องได้รับคำแนะนำและใช้งานเฉพาะแห่งเท่านั้น
12. HEPA ที่มีประสิทธิภาพ 99.97% ที่ 0.3µm หมายความว่า อนุภาคขนาด0.3µm จำนวน 10,000 อนุภาคสามารถผ่าน HEPA ออกไปได้เพียง 3 อนุภาค และ ULPA มีประสิทธิภาพ 99.9999% ที่ 0.3µm หมายความว่า อนุภาคขนาด0.3µm จำนวน 1,000,000 อนุภาคสามารถผ่าน ULPA ออกไปได้เพียง 1 อนุภาค เท่านั้น อ่านแล้วดูดีมาก แต่คำถามที่ตามมาคือ หนึ่ง ต้องใช้พลังงานมากขนาดไหนจึงจะผลักดันอากาศให้ผ่านออกไปได้ สอง ประสิทธิภาพที่ว่าไว้จะอยู่ได้นาน(ตันเร็ว)แค่ไหนในเมื่อมันดักจับอนุภาคขนาดใหญ่ไว้หมด นี่คือเหตุผลที่การใช้ HEPA,ULPA สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก อายุการใช้งานสั้น ราคาแพง และเป็นขยะมลพิษ
13. Electronic Air Filter EMF หรือ Electrostatic Field Media Filter เป็นการกรองอากาศที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยการเหนี่ยวนำตัวกลางให้มีสภาพเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าสถิต สามารถดูดจับอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆได้ดี ยิ่งมีจำนวนชั้นสนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้น ยิ่งดักจับอนุภาคได้เล็กลงไปอีก(0.01-0.00125 µm)แม้กระทั่ง Virus และที่สำคัญ Electronic Air Filter ของ ALPINE มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 5 ปี อากาศไหลผ่านได้ดี(กว่าHEPA 5เท่า) เนื่องจากไม่ต้องใช้ความถี่ของตะแกรงในการดักจับ  จึงช่วยลดการใช้พลังงานลงมาก ไม่มีการปล่อยประจุไฟฟ้าหรือโอโซน ถูกนำไปทำการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง เพื่อยืนยันในประสิทธิภาพจริง ได้รับรางวัลระดับประเทศ และระดับโลกมากมาย (ดูรายละเอียดประสิทธิภาพ และผลการวิจัย)
14. การออกแบบและวัสดุตกแต่ง ผิวพื้น ผนัง  ฝ้าเพดาน ครุภัณฑ์ รวมถึงลักษณะทางกายภาพของห้อง ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อการควบคุมฝุ่นละอองและการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอากาศ
 
Infection Control
การควบคุมการติดเชื้อ โดยการกรองกำจัดสิ่งปนเปื้อนในอากาศในระบบปิด ปัจจุบันมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ควรศึกษาเพื่อพิจารณาในการเลือกใช้งานให้เหมาะสม หรือปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญ
- แผ่นกรองมีประสิทธิภาพในการดักจับจริง ?
- ออกแบบระบบควบคุมเหมาะสม?
- ลดการใช้พลังงาน ?
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ?

 







dot
บทความสำคัญ / Download
dot
bulletการปรับปรุงห้องผ่าตัด
bulletคุณภาพอากาศอาคารพักอาศัย
bulletการเลือกเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องมือจัดการคุณภาพอากาศ
bulletงานศึกษาวิจัย
bulletรางวัลผลงาน
bulletผลงานอ้างอิง
bulletเปรียบเทียบค่าใชัจ่าย
bulletGreen Building , LEED
bulletASHARE 52.2
dot
ฝากที่อยู่ไว้ เราจะติดต่อ,ส่งข้อมูลกลับ

dot
dot
รู้จักพิษภัยทางอากาศที่สำคัญ
dot
bulletไข้หวัดใหญ่ 2009
bulletวัณโรค TB
bulletไข้หวัดนก Bird Flu
bulletไข้หวัดซาร์ Sars
bulletไข้หวัดใหญ่ Influenza
dot
ข่าวสารพิษภัยทางอากาศ
dot
bulletข่าวเตือนภัยวัณโรค
bulletข่าวเตือนภัยไข้หวัด
dot
งานวิชาการ
dot
bulletภาพงานวิชาการ
dot
Guidelines in Healthcare Facilities
dot


Practical Guidelines for Infection Control in Health Care Facilities
Guidance for Filtration and Air-Cleaning Systems to Protect Building Environmemts
Guideline for Environmental Infection Control in Health-Care Facilities, 2003
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Leadership in Energy and Environmental Design,LEED


Copyright © 2008-2012 All Rights Reserved. VORAVITCH SINGHANART
สนใจผลิตภัณฑ์ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม บรรยาย,คำปรึกษาการออกแบบ Clean Room, Isolation Room วรวิชญ์ สิงหนาท B.Ind.TECH (Civil Engineering) M.A.(Resources&Environment) Tel : 085-1122-422 Fax : 00 Email : voravitch@hotmail.com