ภาพประกอบ คำบรรยาย การติดตั้งระบบฟอกอากาศที่ OPD , หรือห้องClean Room ที่มีลักษณะเดียวกัน

ภาพที่ 1 แสดงห้องทั่วไปที่เครื่องปรับอากาศปล่อยกระแสอากาศเย็นออกทางด้านหน้าของเครื่อง และหมุนวนอากาศกลับผ่านแผ่นกรองหยาบที่ด้านล่างของเครื่อง โดยปริมาณการหมุนเวียนอากาศ (Air Change per Hour,ACH) เพียงพอสำหรับทำความเย็น แต่ไม่เพียงพอสำหรับการหมุนเวียนเพื่อฟอกอากาศด้วย

ภาพที่ 2 แสดงภาพที่เป็นจริงของห้องตรวจ ที่OPD หรือห้องที่มีลักษณะเดียวกัน ที่มีทั้งผนังกั้นห้อง โต๊ะ เก้าอี้ เตียงตรวจ อื่นๆ ที่ทำให้เกิดการกีดขวางกระแสอากาศ และเกิดมุมอับ

ภาพที่ 3 แสดงภาพกระแสอากาศห้องตรวจ ที่ใหลผ่านผนังกั้นห้อง โต๊ะ เก้าอี้ เตียงตรวจ อื่นๆ ที่ทำให้กระแสอากาศเกิดการปั่นป่วน ทำให้เกิดการฝุ้งกระจายของฝุ่นและเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมาจากการเข้าออกของผู้ป่วย และเกิดจุดอับที่ไม่สามารถหมุนเวียนกลับไปผ่านแผ่นกรองหยาบที่ด้านล่างของเครื่องปรับอากาศได้ทั้งหมด

ภาพที่ 4 ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงงบประมาณ คือ 1.ติดแผ่นกรองอากาศALPINE Filter ที่ด้านล่างของเครื่องปรับอากาศ เพื่อดักจับฝุ่นและเชื้อโรคที่เครื่องปรับอากาศดูดกลับมาทางด้านล่างของเครื่อง และเพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อโรคเข้าไปสะสมอยู่ที่คอร์ยเย็นและถาดรองน้ำ 2.ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศแบบแขวนผนัง เพื่อเพิ่มปริมาณการหมุนเวียนอากาศ(ACH) สำหรับการฟอกอากาศ เพื่อดูดดักจับฝุ่นและเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมาจากการเข้าออกของผู้ป่วยในทันที และเครื่องฟอกอากาศจะดูดดักจับฝุ่นและเชื้อโรค ที่ระดับล่างที่เป็นจุดอับ 3.ที่สำคัญต้องติดตั้งพัดลมเติมอากาศ ที่ผ่านการกรองอากาศ ในปริมาณไม่น้อยกว่า 2เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง(2 Air Change per Hour,ACH) เพื่อทำให้ห้องมีความดันอากาศเป็นบวก
การกรองหรือฟอกอากาศโดยวิธีการที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ เท่านั้น จึงจะทำให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อทางอากาศได้
ภาพประกอบ คำบรรยาย การติดตั้งระบบฟอกอากาศที่ ICU

สภาพห้อง ICU เดิมที่พบเห็นโดยทั่วไป
1. ห้อง ICU ที่พบเห็นโดยทั่วไป ไม่มีการติดตั้งระบบฟอกอากาศประสิทธิภาพสูง
2. ห้อง ICU บางแห่ง ไม่มีการเติมอากาศ Fresh Air แต่กลับติดพัดลมดูดอากาศออก ทำให้สภาพห้องมีความดันอากาศกลายเป็นลบ
3. บางแห่งมีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ แบบแขวนเอาไว้เหนือบริเวณ Nurse Station ซึ่งไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากเครื่องฟอกอากาศจะดูดอากาศที่ผ่านมาจากผู้ป่วยกลับมาทางด้านใต้ของเครื่องเพื่อกรองอากาศ ทำให้เจ้าหน้าที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากยิ่งขึ้น

แนวทางปรับปรุง แบบที่ 1
1. ติดตั้งแผ่นฟอกอากาศ ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ AHU หรือที่เครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรคที่ คอยร์เย็นและถาดรองน้ำ
2. ย้าย หรือติดตั้งเครื่องฟอกอากาศใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง ให้ห่างจากบริเวณ Nurse Station หรืออยู๋เหนือบริเวณคนไข้
3. เติมอากาศสะอาดจากภายนอก โดยผ่านแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง ที่ระดับบน ทางด้านหลังของ Nurse Station ให้อากาศผ่านจากเจ้าหน้าที่ไปทางผู้ป่วย
4. ติดตั้งระบบดูดอากาศกลับที่ระดับล่างของห้อง

แนวทางปรับปรุง แบบที่ 2
1. ติดตั้งแผ่นฟอกอากาศ ที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ AHU หรือที่เครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรคที่ คอยร์เย็นและถาดรองน้ำ
2. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง ความสูงที่ระดับของการหายใจ ให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึง
3. เติมอากาศสะอาดจากภายนอก โดยผ่านแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง ที่ระดับบน ทางด้านหลังของ Nurse Station ให้อากาศผ่านจากเจ้าหน้าที่ไปทางผู้ป่วย
4. ติดตั้งระบบดูดอากาศกลับที่ระดับล่างของห้อง

การปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับห้อง ICU
การปรับอากาศ
1. ระบบปรับอากาศต้องสามารถหมุนเวียนอากาศภายในห้องICU ได้จำนวนไม่น้อยกว่า 6 เท่า(วสท)ของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง ( Air Change per Hour,ACH)
2. ระบบปรับอากาศควรสามารถปรับอุณหภูมิได้ในช่วง 21-27ºC(วสท)
3. ต้องรักษาความดันอากาศของห้องให้เป็นบวก และเปิดระบบปรับอากาศตลอดเวลาแม้ไม่มีการใช้งาน โดยสามารถปรับให้อุณหภูมิให้สูงขึ้น ลดอัตราการหมุนเวียนอากาศตามความเหมาะสม เพื่อประหยัดพลังงาน
4. ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ให้น้อยกว่า 60%rh(วสท)
5. ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถปรับอุณหภูมิ โดยแสดงผลอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ที่สามารถอ่านได้สะดวก
6. ท่อลมกลับ (Return Air) ที่ส่งลมกลับมาที่ AHU ต้องผ่านแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง
การระบายอากาศ
1. ต้องมีเติมอากาศจากภายนอกเข้าห้องICU โดยคำนวณหักลบส่วนที่ดูดออกและช่องลอดต่างๆ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 เท่า(วสท)ของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง ( Air Change per Hour,ACH)โดยผ่านแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง โดยความดันห้องเป็นบวก
2. พัดลมดูดอากาศออก ควรดูดออที่ด้านล่าง และต่อท่อออกไปปล่อยในระดับสูง หรือในทิศทางที่ไม่หวนกลับเข้ามาหาท่อเติมอากาศ หรืออาคาร
หมายเหตุ:
1. รายละเอียดทางด้านเทคนิคของระบบปรับและระบายอากาศ อาทิ AHU, ท่อลม, ฉนวนหุ้ม, ท่อน้ำทิ้ง, อื่นๆ
2. รายละเอียดทางด้านระบบไฟฟ้าแสงสว่าง, เพาเวอร์ปลั๊ก, ไฟสำรอง, อื่นๆ
3. รายละเอียดทางด้านวัสดุผิวพื้น, ผนัง, ฝ้าเพดาน, ประตู-หน้าต่าง, อื่นๆ
องค์ประกอบอื่นๆอีกมากที่ต้องได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และคำปรึกษา.. .