google-site-verification: googleb7f6cb2897a693e4.html
ReadyPlanet.com
dot dot
AIIR , Isolation Room article

 

AIIR Airborne Infection Isolation Room

การออกแบบห้องแยกโรคสำหรับผู้ติดเชื้อโรคระบาด หรืดโรคที่แพร่กระจายเชื้อทางอากาศ ห้องLAB  ห้องโถง OPD หรือโถงพักคอยรวม ที่ยังไม่มีการตรวจหรือคัดกรองผู้ป่วย  ห้อง Emergency  ห้องชัณสูตรศพ ต้องออกแบบห้องเป็นระบบปิด ที่มีความดันเป็นลบ โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศของวสท. และสอดคล้องกับคำแนะนำของหน่วยงานต่างๆที่มีมาตรฐานและประสพการณ์ อาทิ WHO , CDC (Centers for Disease Control and Prevention) , NIOSH ( National Institute Cccupational Safty and Health ) AIA Guidelines (The American Institute of Architecs ) ขอสรุปเป็นแนวทางในเบื้องต้นดังนี้

สรุป การออกแบบห้องแยกโรคทางเดินหายใจ ที่ความดันห้องเป็นลบ

 
1.    ความดันอากาศภายในห้องต้องเป็นลบ และต้องไม่คาบเกี่ยวที่จะกลายเป็นบวก
2.    Air Change ≥ 12ACH หรือ 145 l/sec ( คำนวณรวม Pressure Drop แล้ว ) ห้องที่มีปริมาตรเล็กกว่า Air Change ต้องมากกว่า
3.    การเติม/ดูดอากาศ ความดันอากาศภายในห้องต้องเป็นลบ เมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างเคียง อัตราการดูดอากาศออก มากกว่าเติมอากาศ 10% แม้ขณะมีการเปิดปิดประตู
4.    ต้องมี Pressure Gauge วัดความดันภายในห้อง ติดตั้งที่หน้าห้อง ควรเป็นแบบดิจิตอล   อ่านหรือมองดูเข้าใจง่ายๆ เช่นสีเขียวหมายถึงปกติ สีแดงหมายถึงผิดปกติ
5.    ตำแหน่งติดตั้งของเครื่องวัดความดัน ต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ต้องไม่ถูกกระทบจากกระแสลม ของระบบปรับอากาศ หรืออื่นๆ
6.    มีระบบสัญญาณแจ้งความผิดปกติของ ระบบระบายอากาศ ความดันอากาศ สถานะของประตูว่าเปิด/ปิด
7.    กระแสลมของระบบเติม/ปรับอากาศ ต้องไหลผ่านจากเจ้าหน้าที่ ก่อนผ่านคนไข้ และดูดออกทางหัวเตียงคนไข้
8.    กระแสลมของระบบเติม/ปรับอากาศ ต้องไม่ปั่นป่วน หรือทำให้อากาศบริเวณรอบๆคนไข้ปนเปื้อนมากขึ้น และกระแสลมที่ปนเปื้อนต้องระบายออกให้มากที่สุด
9.    การเติม Fresh Air ในปริมาณทีไม่มากไปกว่าที่ จำเป็นเท่านั้น
10.ลักษณะภายในห้อง ต้องไม่ปิดกั้นหรือขวางการไหลของระบบเติม/ปรับอากาศอากาศ โดยต้องให้อากาศไหลผ่านจากด้านสะอาดไปหาด้านที่ปนเปื้อน
11.ตำแหน่งของตัวดูดอากาศออก ต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และอยู่ในระดับต่ำ ประมาณ 15cm. จากพื้น
12.พัดลมของระบบเติมและดูดอากาศ สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณได้ในอนาคต
13.ผิวพื้น ผนัง ครุภัณฑ์ อื่นๆ ต้องเรียบ ไม่ดูดความชื้น ฝุ่นไม่เกาะง่าย ทนทาน
14.มีอ่างล้างมือ ทั้งในห้องแยกโรค และ Anteroom
15.ประตูปิดโดยอัตโนมัติ ให้มีผลกระทบต่อความดันของห้องน้อย
16.อุปกรณ์ต่างๆภายในห้อง ต้องสะอาด  มิดชิด และไม่เป็นที่เพาะเชื้อ
17.การทำให้ห้องมีความดันเป็นลบ ให้คำนึงถึงการประหยัดพลังงาน เช่น
a.    การ Return Air จากส่วนที่ปลอดเชื้อ
b.    การเติมอากาศ ใช้ Heat Exchange ที่เหลือจากที่อื่น
18.ห้อง Anteroom ทำให้เป็น True Airlock ประตูทางเข้า/ออก ต้องไม่เปิดต่อเนื่อง  ความดันเป็นลบ เมื่อภายในเทียบกับทางเดินภายนอก และกระแสอากาศไหลจากห้อง Anteroom ไปในห้องแยกโรค ความดันระหว่างห้อง 15Pa
19.ประตูระหว่างทางเดินกับห้อง Anteroom ต้อง Sealed โดยรอบทุกด้านอย่างดี
20.ห้อง Anteroom เติมอากาศ ไม่มีการระบายอากาศออก ให้มี Grille ที่ประตูระหว่างห้อง Anteroom กับห้องแยกโรค
21.ห้อง Anteroom ต้องมีพื้นที่พอเพียงสำหรับ เตียงเข็นพร้อมอุปกรณ์ และปิดประตูได้ มีพื้นที่สำหรับ อ่างล้างมือ ที่เก็บอุปกรณ์และมูลฝอยติดเชื้อ ที่เก็บอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็น
22.ห้องแยกโรค มีระบบเติม/ปรับอากาศ ระบบดูดอากาศ ของตัวเอง
23.มี HEPA Filter ที่หน้าพัดลมดูดอากาศ
24.ตะแกรงด้านดูดอากาศออก ให้หันเอียงลง และให้ทำความสะอาดบริเวณนี้ทุกครั้งที่ทำความสะอาดห้อง Filter ที่เปลี่ยนออก ให้ถือเป็นมูลฝอยติดเชื้อ (ใส่ถุง Sealed 2 ชั้น)
25.อบฆ่าเชื้อห้อง ห้องแยกโรค ห้อง Anteroom และห้องน้ำ
 
 

airbornefilter.com

ตัวอย่างModel  ห้องแยกโรคผู้ติดโรคแพร่เชื้อทางอากาศ Negative Pressure

airbornefilter.com

 

ตัวอย่างPLAN  ห้องแยกโรคผู้ติดโรคแพร่เชื้อทางอากาศ Negative Pressure

ตัวอย่างModel  ห้องแยกโรคผู้ติดโรคแพร่เชื้อทางอากาศ Negative Pressure ห้องคู่

airbornefilter.com

 การออกแบบห้องแยกโรค หรือการปรับปรุงพื้นที่เดิมเป็นห้องแยกโรคผู้ติดโรคแพร่เชื้อทางอากาศ  ควรได้รับการออกแบบโดยผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ  และเป็นงานเฉพาะแห่งนั้นๆเท่านั้น  เพราะแต่ละแห่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน 

... ต้องการผู้เชี่ยวชาญ .. CONTACT US . . .

 




Airborne Infection Control in Health Care Facilities งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

Clean Area,OPD,ICU article
Operating Room, OR article



dot
บทความสำคัญ / Download
dot
bulletการปรับปรุงห้องผ่าตัด
bulletคุณภาพอากาศอาคารพักอาศัย
bulletการเลือกเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องมือจัดการคุณภาพอากาศ
bulletงานศึกษาวิจัย
bulletรางวัลผลงาน
bulletผลงานอ้างอิง
bulletเปรียบเทียบค่าใชัจ่าย
bulletGreen Building , LEED
bulletASHARE 52.2
dot
ฝากที่อยู่ไว้ เราจะติดต่อ,ส่งข้อมูลกลับ

dot
dot
รู้จักพิษภัยทางอากาศที่สำคัญ
dot
bulletไข้หวัดใหญ่ 2009
bulletวัณโรค TB
bulletไข้หวัดนก Bird Flu
bulletไข้หวัดซาร์ Sars
bulletไข้หวัดใหญ่ Influenza
dot
ข่าวสารพิษภัยทางอากาศ
dot
bulletข่าวเตือนภัยวัณโรค
bulletข่าวเตือนภัยไข้หวัด
dot
งานวิชาการ
dot
bulletภาพงานวิชาการ
dot
Guidelines in Healthcare Facilities
dot


Practical Guidelines for Infection Control in Health Care Facilities
Guidance for Filtration and Air-Cleaning Systems to Protect Building Environmemts
Guideline for Environmental Infection Control in Health-Care Facilities, 2003
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Leadership in Energy and Environmental Design,LEED


Copyright © 2008-2012 All Rights Reserved. VORAVITCH SINGHANART
สนใจผลิตภัณฑ์ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม บรรยาย,คำปรึกษาการออกแบบ Clean Room, Isolation Room วรวิชญ์ สิงหนาท B.Ind.TECH (Civil Engineering) M.A.(Resources&Environment) Tel : 085-1122-422 Fax : 00 Email : voravitch@hotmail.com