แนะนำการปรับปรุงห้องผ่าตัด หรือห้องที่มีลักษณะคล้ายกัน Download ►►►OPERATING ROOM.pdf
ห้องผ่าตัด แบบที่ 1 (เป็นห้องผ่าตัดแบบเดิมที่ใช้กันมานาน)
ภาพที่1 เป็นภาพห้องผ่าตัดแบบเดิมที่พบเห็นได้ โดยใช้เครื่องปรับอากาศแบบแขวนเพดาน ติดที่ผนังด้านหนึ่งของห้อง ทำให้เกิดเป็นกระแสลม เมื่อกระแสลมปะทะเข้ากับเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ภายในห้อง จะทำให้ฝุ่นละอองและเชื้อโรคฟุ้งกระจายหมุนเวียนอยู่โดยไม่มีการกำจัด และหากทำการอบยาฆ่าเชื้อไม่ดีพออาจทำให้เชื้อโรคมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตหรือสะสมที่คอร์ยเย็นหรือถาดรองน้ำ และที่สำคัญพัดลมดูดอากาศที่ด้านล่างที่มีเพื่อดูดแก๊สไนตรัสออกไซด์ที่อาจตกค้างจากการดมยาสลบ กลับทำให้ภายในห้องมีความดันเป็นลบ ดูดเอาสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรคจากภายนอกห้องผ่านทางประตูและช่องลอดต่างๆ ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงและอันตรายจากการติดเชื้อ
ภาพที่ 2 เป็นวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมตามสภาพโดยคำนึงถึงงบประมาณ (ไม่แนะนำ ควรจัดหางบประมาณทำตามแบบที่2)
1.โดยการติดตั้งแผ่นกรองอากาศ ALPINE Filter ที่ด้านล่างของเครื่องปรับอากาศ เพื่อกรองดักจับฝุ่นและเชื้อโรคจากการดูดลมกลับของเครื่องปรับอากาศ และป้องกันไม่ให้มีการสะสมของเชื้อโรคที่คอร์ยเย็นและถาดรองน้ำ
2.ติดตั้งพัดลมดูดอากาศเข้าภายในห้องเพื่อเพิ่มอากาศบริสุทธิ โดยหักปริมาณอากาศส่วนที่พัดลมเดิมต้องดูดออกแล้วต้องมีอากาศเข้าในปริมาณไม่น้อยกว่า 5เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง(5 Air Change per Hour,ACH) และเพื่อทำให้ห้องมีความดันเป็นบวก
3.ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศแบบติดผนังหรือแบบตั้งพื้นรุ่นPT-400 เพื่อเพิ่มปริมาณการหมุนเวียนอากาศ เครื่องฟอกอากาศจะทำการดูดดักจับฝุ่นและเชื้อโรคที่ระดับล่าง และบริเวณมุมที่อับ



หมายเหตุ :
1.การปรับปรุงห้องผ่าตัดมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาพผิวพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน สี แสงสว่าง ชนิดของวัสดุ เทคนิคในการปรับปรุง องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ที่ควรทำไปพร้อมๆกัน
2.ห้องผ่าตัดเป็นห้องที่ต้องให้ความสำคัญ โรงพยาบาลแต่ละแห่งแม้จะมีลักษณะของห้องผ่าตัดคล้ายคลึงกัน แต่องค์ประกอบต่างๆโดยละเอียดมีความแตกต่างกัน การปรับปรุงโดยวิธีที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ เท่านั้น จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อทางอากาศได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม
องค์ประกอบอื่นๆอีกมากที่ต้องได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และคำปรึกษา
ห้องผ่าตัด แบบที่ 2
รูปแบบห้องผ่าตัด สอดคล้องตามข้อกำหนด CDC, WHO, วสท.

การปรับอากาศและระบายอากาศสำหรับห้องผ่าตัด
การปรับอากาศ
1. ระบบปรับอากาศต้องสามารถหมุนเวียนอากาศภายในห้องผ่าตัด ได้จำนวนไม่น้อยกว่า 25 เท่า(วสท)3ของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง ( Air Change per Hour,ACH)หรือ ไม่น้อยกว่า15 ACH (WHO,CDC)1,2
2. ระบบปรับอากาศควรสามารถปรับอุณหภูมิได้ในช่วง 17-27ºC(วสท)3 โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมขณะใช้งาน 20-22 ºC (WHO)1 หรือ 20-23 ºC (CDC)2
3. ต้องรักษาความดันอากาศของห้องให้เป็นบวก และเปิดระบบปรับอากาศตลอดเวลาแม้ไม่มีการใช้งาน โดยสามารถปรับให้อุณหภูมิให้สูงขึ้น ลดอัตราการหมุนเวียนอากาศตามความเหมาะสม เพื่อประหยัดพลังงาน
4. ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ให้อยู่ในช่วง 45-55%rh(วสท)3 หรือ 30-60%rh(WHO,CDC)1,2
5. ควรติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถปรับอุณหภูมิ โดยแสดงผลอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ที่สามารถอ่านได้สะดวก
6. หัวจ่ายลมเป็นแบบจ่ายลมทิศทางเดียว (Unidirectional) ต้องผ่านแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง4โดยหลีกเลี่ยงหน้ากากที่มีการเหนี่ยวนำลมสูง
7. ท่อลมกลับ (Return Air) ที่ส่งลมกลับมาที่ AHU ต้องผ่านแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง4
การระบายอากาศ
1. ต้องมีเติมอากาศจากภายนอกเข้าห้องผ่าตัด จำนวนไม่น้อยกว่า 5 เท่า(วสท)3 ของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง ( Air Change per Hour,ACH) โดยผ่านแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง4
2. พัดลมดูดอากาศออก ควรต่อท่อออกไปปล่อยในระดับสูง หรือในทิศทางที่ไม่หวนกลับเข้ามาหาท่อเติมอากาศ หรืออาคาร
หมายเหตุ:
1. รายละเอียดทางด้านเทคนิคของระบบปรับและระบายอากาศ อาทิ AHU, ท่อลม, ฉนวนหุ้ม, ท่อน้ำทิ้ง, อื่นๆ
2. รายละเอียดทางด้านระบบไฟฟ้าแสงสว่าง, เพาเวอร์ปลั๊ก, ไฟสำรอง, อื่นๆ
3. รายละเอียดทางด้านวัสดุผิวพื้น, ผนัง, ฝ้าเพดาน, ประตู-หน้าต่าง, อื่นๆ
องค์ประกอบอื่นๆอีกมากที่ต้องได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และคำปรึกษา
[1]World Health Organization2004, Practical guidelines for infection control in health care facilities.,p.20
[2]CDC 2003,Guidelines for Environmental Infection Control in Health-Care Facilities ,p.17
[3]วสท.,มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ 2551 ,หน้า 51
[4] HEPA 99.97% efficiency on 0.3µm particles OR ALPINE Filter 99.9% efficiency on 0.01µm particles