google-site-verification: googleb7f6cb2897a693e4.html นวัตกรรม เพื่ออากาศบริสุทธิ์ รางวัลระดับโลก ,Airborne,LEED Building,Air Purifier,Nano,Cleaner,Bioaerosol,Bird Flu,Sars,TB,Swine Flu,nano,Electronic,filter,Best Innovation,Infection Control,Healthcare Facilities,Dust Filter
ReadyPlanet.com
dot dot
ข่าวเตือนภัยวัณโรค

 

 


คาดปีนี้ไทยป่วยวัณโรคนับแสนอาจตาย 13,900 คน-"นพ.เกษม" จี้สธ.เร่งควบคุม
 เมื่อวันที่ 11 กันยายน ศ.นพ.เกษม วัฒนชัยองคมนตรี เป็นประธานพิธีมอบรางวัลแก่นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นและนักเวชศาสตร์ป้องกันดีเด่นระดับชาติ พร้อมเปิดสัมมนาการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรงสาธารณสุข เรื่อง "เร่งรัด หยุดยั้ง วัณโรค" ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์

ศ.นพ.เกษมกล่าวว่า ขณะนี้พบว่าไทยเป็นประเทศที่มีวัณโรคชุกจัดอยู่ในอันดับที่ 18 จาก 22 ประเทศที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในปี 2552 ไทยจะมีผู้ติดเชื้อวัณโรคสูงถึง 9.1 หมื่นราย และพบผู้ป่วยติดเชื้อใหม่ 3.9 หมื่นราย หากไม่มีการควบคุมจะทำให้มีผู้เสียชีวิต 1.39 หมื่นราย ถือว่าเป็นสถิติที่สูงเพราะก่อนหน้านี้ไทยมีผู้เสียชีวิตไม่ถึง 1 หมื่นรายต่อปี ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขต้องตื่นตัวและเน้นการบริการเข้าถึงยาให้แก่ผู้ป่วยมากที่สุดรวมทั้งให้จับตาในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว และนักโทษในเรือนจำโดยให้ประเมินผลเป็นรายสัปดาห์

นพ.ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกรายงานว่าขณะนี้มีผู้ป่วยวัณโรคทั่วโลก 18 ล้านราย ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในระยะการแพร่เชื้อและมีผู้เสียชีวิตปีละ 1.9 ล้านราย และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 8.8 ล้านคน ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่พบผู้ป่วยวัณโรคมาก จัดอยู่ในอันดับที่ 18 และในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายลดอัตราการป่วยตายจากวัณโรคภายใน 5 ปี โดยใช้ระบบการติดตามผู้ป่วยให้ได้ร้อยละ 90 รวมทั้งจะเร่งหาผู้ป่วยวัณโรคให้เข้ารับการรักษาโดยเร็ว

ด้าน นพ.ยุทธิชัย เกษตรเจริญ ผู้อำนวยการสำนักวัณโรค กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยโรควัณโรคขึ้นทะเบียนในสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 5.8 หมื่นราย ซึ่งองค์การอนามัยโลกประมาณการว่าจะมีคนที่ติดเชื้อวัณโรค 9 หมื่นรายดังนั้นยังมีอีก 3 หมื่นรายที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษาจึงต้องเร่งจับตากลุ่มคนเหล่านี้ เพราะมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้

ทั้งนี้ กระทรวงยังติดตามให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง จากรายงานพบว่า หากผู้ป่วยกินยาอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 95 จะหายขาดและไม่กลับมาเป็นวัณโรคอีก อย่างไรก็ตาม วัณโรคที่พบมากที่สุดคือ วัณโรคปอด กลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและรับเชื้อวัณโรคเพิ่ม เนื่องจากจะเกิดอาการที่รุนแรงมาก และพบว่าในจำนวนผู้ป่วยวัณโรค 100 คน จะมีผู้ป่วยเอชไอวีถึง 17 คน
แหล่งข่าวโดย.... เว็บไซต์คมชัดลึก
ผู้จัดทำ.... สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
[13/ก.ย/2552]

 

 


ไทยร่วมถก 27 ประเทศ ปราบวัณโรคดื้อยา ตัวดูดภาระค่ารักษาภาครัฐแพงลิ่ว 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย นำคณะผู้เชี่ยวชาญโรควัณโรค เข้าร่วมประชุมแก้ไขปัญหาวัณโรคดื้อยากับ 27 ประเทศ ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน 2552 ชี้เชื้อวัณโรคดื้อยามีผลให้ประเทศที่ประสบปัญหา มีอัตราตายของผู้ป่วยสูงขึ้นและต้องควักกระเป๋าหนักขึ้น คาดปีนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 500,000 ราย รัฐต้องควักเงินค่ารักษาสูงถึง 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะเพิ่มอีก 9 เท่าตัวในอีก 6 ปี

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 1-3 เมษายน 2552 นี้ จะเป็นหัวหน้าคณะนำปลัดกระทรวงสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญด้านโรควัณโรค ไปร่วมประชุมระดับรัฐมนตรี เรื่องวัณโรคดื้อยาหลายขนานและวัณโรคดื้อยาชนิดรุนแรง (A Ministerial Meeting of High M/XDR-TB Burden Countries) จัดโดยองค์การอนามัยโลก ร่วมกับมูลนิธิบิลเกตต์ ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

นายวิทยา กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ จะมีรัฐมนตรีสาธารณสุขจาก 27 ประเทศที่มีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานและเชื้อวัณโรคดื้อยาชนิดรุนแรงระดับโลก ในส่วนของไทย ปัญหายังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ไม่รุนแรงมาก พบผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-5 ทางองค์การอนามัยโลกจึงได้เชิญรัฐมนตรีสาธารณสุขประเทศไทย เข้าร่วมฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขแต่เนิ่นๆ โดยประเทศไทยจะกล่าวถึงสภาพปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานและดื้อยารุนแรง พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนกับประเทศต่างๆ ด้วย ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากเวทีครั้งนี้ จะทำให้ไทยสามารถนำประสบการณ์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้จัดการปัญหาในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จากรายงานขององค์การอนามัยโลกล่าสุด ในปี 2552 คาดว่าทั่วโลกพบผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในกว่า 50 ประเทศ ประมาณ 500,000 ราย ในจำนวนนี้ราวร้อยละ 50 อยู่ที่จีน อินเดีย โดยในผู้ป่วยรายใหม่พบปัญหาดื้อยาหลายขนาน ร้อยละ 3 ส่วนรายเก่าพบร้อยละ 5 ทำให้รักษาด้วยสูตรยาปกติไม่ได้ผล อัตราตายสูงขึ้นและเสียค่ารักษาสูงขึ้น เนื่องจากต้องรักษาด้วยสูตรยาพิเศษ ซึ่งมีราคาแพงและต้องใช้เวลานานถึง 18-24 เดือน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยา เกิดจากการกินยาไม่ต่อเนื่อง จากการประเมินการสูญเสียค่ารักษา วัณโรคชนิดดื้อยาหลายขนาน ในปี 2552 พบว่าสูงถึง 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 42,000 ล้านบาท คาดว่าปัญหาจะรุนแรงขึ้นในอีก 6 ปี หลายประเทศจะต้องเผชิญค่ารักษาผู้ป่วยประเภทนี้เพิ่มขึ้นอีก 9 เท่าตัว คิดเป็นเงิน 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 385,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้รวมถึงการจ่ายเงินของผู้ป่วยเอง

ทางด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของวัณโรคของไทย ขณะนี้อยู่ลำดับที่ 18 ของประเทศที่มีปัญหาการแพร่ระบาดของโรควัณโรคมากที่สุด 22 ประเทศ โดยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละประมาณ 90,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยประมาณร้อยละ 17 และจากการสำรวจพบวัณโรคดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยใหม่ ร้อยละ 1.65 ส่วนวัณโรคดื้อยารุนแรงมีประมาณ ร้อยละ 5 ของการดื้อยาหลายขนาน อัตราการรักษาหายขาดในผู้ป่วยวัณโรคทั่วไปยังไม่ถึงร้อยละ 85 ซึ่งตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป ไทยจะเข้มข้นที่มาตรการบริหารจัดการกับผู้ป่วยวัณโรค โดยเน้นการกระจายการค้นหากลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ทั้งในประชาชนทั่วไป ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว ผู้ต้องขัง และให้การรักษาให้หายขาดภายใน 6 เดือน เพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคดื้อยา โดยมีผู้รับผิดชอบติดตามกำกับถึงตัวผู้ป่วย และอาศัยความร่วมมือของอสม.ทุกหมู่บ้าน ดูแลให้ผู้ป่วยกินยาจนครบกำหนดหาย จากมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ มั่นใจว่าไทยจะสามารถป้องกันควบคุมปัญหาวัณโรคได้อยู่หมัด

******2 เมษายน 2552
แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ
ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ
[2/ม.ย/2552]

 

 


รมว.วิทยา เร่งรัดงานควบคุมป้องกัน 3 โรค ในจังหวัดภาคใต้ ชี้ไทยสูญเศรษฐกิจเพราะวัณโรคตัวเดียวปีละกว่า 1,500 ล้านบาท
 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดงานควบคุม ป้องกันโรคที่สำคัญของภาคใต้ 3 โรคได้แก่ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ไข้เลือดออก และวัณโรคอย่างจริงจัง โดยเฉพาะวัณโรคขณะนี้ฉุดเศรษฐกิจไทยสูญปีละ กว่า 1,500 ล้านบาท ตั้งเป้าค้นหาผู้ป่วยครอบคลุม 100 เปอร์เซ็นต์ในปี 2553 หวังนำประเทศไทยออกจากบัญชีประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคสูงสุดขององค์การอนามัยโลก ภายในปี 2558

วันนี้( 30 มีนาคม 2552) ที่โรงแรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์หม่อมหลวง สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป /โรงพยาบาลชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข จาก 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร สุราษฏร์ธานี ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ตและนครศรีธรรมราช จำนวนกว่า 1,000 คน เพื่อมอบนโยบายเร่งรัดงานป้องกัน และควบคุมโรคในพื้นที่จังหวัดภาคใต้

นายวิทยา กล่าวว่า โรคที่เป็นปัญหาในจังหวัดภาคใต้ในขณะนี้มี 3 โรคสำคัญได้แก่ ไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา( Chikungunya) โรคไข้เลือดออก(Hemorrhagic Fever) และวัณโรค(Tuberculosis) โดยสถานการณ์แต่ละโรค พบผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายตั้งแต่ 1 ม.ค.2552-17 มี.ค. 2552 จำนวน 10,556 ราย ไม่มีเสียชีวิต มากที่สุดที่จ.นราธิวาส 5,148 ราย รองลงมาคือสงขลา 3,269 ราย ปัตตานี 1,531 ราย ยะลา 596 ราย โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ 1 มกราคม 2552-21 มีนาคม 2552 พบผู้ป่วย 5,004 ราย มากที่สุดในภาคกลางรวม 2595 ราย รองลงมาคือภาคใต้ 1,533 ราย เสียชีวิต 6 ราย ได้ให้ทุกจังหวัดที่พบผู้ป่วย เร่งควบคุม ป้องกันโรคอย่างเร่งด่วน รวมทั้งรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันตัวเอง การรักษาเมื่อเจ็บป่วย

สำหรับวัณโรคขณะนี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้วัณโรคเป็นปัญหาฉุกเฉินระดับโลก ให้ทุกประเทศเร่งกวาดล้างเชื้อโดยตั้งเป้าให้อัตราป่วยและตายลดลงครี่งหนึ่งใน พ.ศ.2558 รวมทั้งได้จัดอันดับประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรคสูงสุด 22 ประเทศ โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ อินเดีย จีน และอินโดนีเชีย สำหรับไทยอยู่ในอันดับที่ 18 โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ ปีละ 90,000 ราย หรือใน 1 แสนคนจะพบผู้ป่วย 142 คน เป็นวัณโรคปอดระยะแพร่เชื้อ จำนวน 40,000 ราย เสียชีวิตปีละ 13,000 ราย ผู้ป่วยวัณโรคติดเชี้อเอช ไอ วี ด้วยร้อยละ 11 ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ป่วยเอดส์ ถูกวัณโรคคุกคามฉวยโอกาสป่วยซ้ำสองอีก ร้อยละ 30 และที่สำคัญมีเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนาน เนื่องจากกินยาไม่ครบตามสูตร 6 เดือน ร้อยละ 1.6

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักวัณโรค ปี 2550 พบผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท 29,888 ราย รักษาหาย 22,648 ราย เสียชีวิต 2,562 ราย ความสำเร็จในการรักษา ร้อยละ 82 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 85 สาเหตุจากผู้ป่วยย้ายที่อยู่ และขาดยาร้อยละ 7 ผู้ป่วยเสียชีวิตและรักษาล้มเหลว ร้อยละ 11 สำหรับปี 2551 พบผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท 55,252 ราย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ภาคใต้ต่ำสุด โดยอยู่ระยะแพร่เชื้อ 28,788 ราย ในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครอบ 2 จำนวน 1,716 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยรายใหม่และอยู่ในระยะแพร่เชื้อมากที่สุด คือศรีสะเกษ 1,090 ราย รองลงมา ขอนแก่น 999 ราย และอุบลราชธานี 968 ราย

“ขณะนี้ การค้นหาผู้ป่วยครอบคลุมประชากรแล้ว ประมาณร้อยละ 74 คาดว่าจะค้นหาผู้ป่วยครอบคลุม 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างช้าภายในในปี 2553 นี้ และนำมารักษาให้หายทั้งหมด เพื่อนำประเทศไทยออกจากบัญชีประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคสูงสุด ภายในในปี 2558 ตามเป้าขององค์การอนามัยโลก” นายวิทยากล่าว
ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เร่งแก้ไขด้วย 2 มาตรการสำคัญ คือค้นหาผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และรักษาผู้ป่วยให้หายขาดทุกรายภายใน 6 เดือน โดยมี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือ อสม. เป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยาต่อหน้า ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งการดำเนินงานตามมาตรฐานการควบคุมวัณโรคแห่งชาติ

ทางด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยวัณโรคแต่ละคนจะมีความสูญเสียด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะต้องใช้เวลารักษานานประมาณ 6 เดือน หากครอบครัวใดมีผู้ป่วยวัณโรค 1 คนจะต้องสูญเสียรายได้นาน 40 - 60 วัน และสมาชิกในครอบครัว 1 - 2 คน จะต้องเสียเวลาดูแลผู้ป่วย เมื่อคิดเป็นการสูญเสียรายได้ทางอ้อมประมาณปีละ 16,800 บาท และคิดเป็นภาพรวมทั้งประเทศจะเกิดความสูญเสียมากกว่าปีละ 1,500 ล้านบาท ดังนั้น การค้นหาผู้ป่วยและให้กินยารักษาจนหายขาดต่อเนื่อง 6 เดือน ซึ่งเสียค่ายาเพียง 2,200 บาท จะเป็นการป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เพราะเชื้อไม่แพร่สูคนรอบข้าง และป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา

สำหรับสถานการณ์วัณโรคในเขต 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ปี 2551 ตรวจพบผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 3,094 ราย โดยป็นผู้ป่วยใหม่ที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ จำนวน 1,689 ราย คิดเป็นร้อยละ 55 อัตราความสำเร็จของการรักษา ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ 2550 ร้อยละ 81


มีนาคม************************************************ 30 มีนาคม 2552
แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ
ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ
[30/มี.ค/2552]

"วิทยา" ประกาศ ไทยต้องหลุดจาก "วัณโรค" ระบาดรุนแรงให้ได้
 "วิทยา"นำคณะผู้บริหารร่วมประชุมแนวร่วมหยุดยั้งวัณโรค องค์การอนามัยโลก ที่เมืองลีโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล 23-25 มีนาคม 2552 นี้ พร้อมแสดงความมุ่งมั่นและแนวทางจัดการปัญหาแพร่ระบาดของวัณโรคของประเทศไทย ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อลบชื่อออกจากกลุ่มประเทศที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงของวัณโรค

นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม 2552 จะนำปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ไปร่วมการประชุมของหน่วยงานแนวร่วมหยุดยั้งวัณโรค (Stop TB Partnership) องค์การอนามัยโลก ที่เมืองลีโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล ซึ่งเป็นเวทีระดับโลกที่จัดให้ประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาการแพร่ระบาดรุนแรงของวัณโรค ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการแพร่ระบาดของวัณโรค ที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในหลายประเทศ และมีแนวโน้มที่จะกลับมาเป็นปัญหาใหม่ในประเทศที่โรคสงบแล้ว เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมการประชุมกว่า 100 ประเทศ

นายวิทยา กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเชิญให้ร่วมการประชุมสำคัญ 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการอภิปรายกลุ่มในหัวข้อ “ท่ามกลางภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ : ผู้นำกับการทำให้การต่อสู้ขจัดวัณโรคเป็นไปอย่างต่อเนื่อง” เน้นแนวทางการดำเนินงานในประเด็น การติดเชื้อเอชไอวีและการป่วยเป็นวัณโรค การจัดการปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และวัณโรคดื้อยารุนแรง

ส่วนที่ 2 เป็นการประชุมทวิภาคีร่วมกับสมาชิกบางประเทศ คณะกรรมการบริหารของหน่วยงานแนวร่วมหยุดยั้งเอดส์ หน่วยงานทางเทคนิค กองทุนโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งพิจารณาการสนับสนุนให้กับประเทศสมาชิก

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ได้เตรียมประเด็นที่จะแสดงให้ที่ประชุมรับทราบถึงความตั้งใจ และความมุ่งมั่นของกระทรวงสาธารณสุขไทย ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของวัณโรค อาทิ ตั้งมิสเตอร์ทีบีทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคถึงระดับตำบล เพื่อเป็นแกนหลักประสานความร่วมมือการดำเนินงาน ให้อสม.กว่า 9 แสนคนทั่วประเทศเป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคทุกวันจนครบสูตร รับผู้ป่วยเสมหะพบเชื้อไว้รักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อตัดโอกาสแพร่เชื้อสู่ชุมชนและให้ความรู้การกินยาต่อเนื่องจนกว่าจะหายขาด คัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยวัณโรค เพื่อให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสร่วมด้วย

รวมทั้งตั้งศูนย์สาธิตการรักษาวัณโรคดื้อยา ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก 2 แห่ง ที่ สถาบันบำราศนราดูร และสำนักวัณโรค โดยมีแผนจะขยายเป็น 27 แห่งทั่วประเทศภายในปี 2555 เพื่อเป็นที่ฝึกอบรมการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานและวัณโรคดื้อยารุนแรง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้อัตรารักษาหายขาดไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอผลงานที่เป็นรูปธรรมในจังหวัดต่างๆ ด้วย

ด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ วัณโรคของไทย ขณะนี้อยู่ลำดับที่ 18 จากทั้งหมด 22 ประเทศ โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ปีละประมาณ 90,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยประมาณ ร้อยละ 20 และจากการสำรวจพบวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ร้อยละ 1.65 ส่วนวัณโรคดื้อยารุนแรงมีประมาณ ร้อยละ 5 ของการดื้อยาหลายขนาน อัตราการรักษาหายขาดยังไม่ถึงร้อยละ 70 ซึ่งจากมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ มั่นใจว่าไทยจะสามารถลบรายชื่อออกจากกลุ่มประเทศที่มีการแพร่ระบาดวัณโรครุนแรงได้อย่างแน่นอน
แหล่งข่าวโดย.... ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ผู้จัดทำ.... สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
[22/มี.ค/2552]

องค์การอนามัยโลก หนุนยารักษาเด็กป่วยวัณโรค ให้ไทย 3,000 รายปีนี้
 องค์การอนามัยโลก หนุนยารักษาเด็กป่วยวัณโรค ให้ไทย 3,000 รายปีนี้
สาธารณสุข เร่งรัดควบคุมวัณโรคในปี 2552 หวังปลดชื่อเขตวัณโรคชุกออกจากบัญชีโลก ปีนี้พุ่งเป้าค้นหาในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ต้องขัง คนป่วยโรคเบาหวาน ไตวาย โชเฟอร์รถสาธารณะและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่พ่อหรือแม่ป่วยเป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ โดยองค์การอนามัยโลก หนุนยาสำหรับรักษาเด็กป่วยวัณโรคให้ไทยฟรีครั้งแรก 3,000 ราย
วันนี้(24 มีนาคม 2552)ที่สถานีขนส่งกรุงเทพ(จตุจักร) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค รองผู้ว่ากรุงเทพมหานครฝ่ายสาธารณสุข นายกสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทยและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทขนส่ง จำกัด ร่วมกันแถลงข่าว เนื่องใน "วันวัณโรคโลก" ซึ่งตรงกับวันที่ 24 มีนาคม ของทุกปี ปีนี้องค์การอนามัยโลกใช้คำขวัญว่า“ รวมพลัง เร่งรัด หยุดยั้ง วัณโรค” ( I am stopping TB ) เพื่อให้ประเทศสมาชิกร่วมมือควบคุมการแพร่ระบาดวัณโรค โดยในวันนี้ ได้นำรถเอ็กซ์เรย์ปอดเคลื่อนที่ ให้บริการพนักงานขับรถของบริษัทขนส่ง รวมทั้งประชาชนที่สนใจ ฟรีด้วย
นายวิทยา กล่าวว่า
องค์การอนามัยโลกรายงานว่าในปี2550 ทั่วโลกพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ 9 ล้านกว่ารายใน 202 ประเทศ เสียชีวิตปีละ 2 ล้านราย สำหรับไทยประสบปัญหาวัณโรคกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งจากสาเหตุการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ ความยากจนและการลักลอบเข้ามาทำงานของแรงงานต่างชาติ ทำให้ผู้ป่วย วัณโรคเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้คาดว่าไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ 91,000 ราย เสียชีวิตปีละ5,000-7,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยดื้อยา 2,843 ราย ในปี 2552นี้ องค์การอนามัยโลกจัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่18 จากทั้งหมด22 ประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุดในโลก อันดับดีขึ้นโดย ลดลงจากอันดับ 17 เมื่อปี 2551 เนื่องจากความร่วมมือ ทุ่มเทเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
นายวิทยา กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาวัณโรคชุก ในปี 2552 นี้ จะเน้นหนักค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้าน ชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่ายังมีผู้ป่วยที่ยังหาตัวไม่พบอีกประมาณร้อยละ 26 มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อไปยังคนรอบข้างได้ ซึ่งในปี 2551 สามารถค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้ 58,000 ราย ครอบคลุมร้อยละ 72-74 โดยหากพบจะให้กินยาฆ่าเชื้อต่อเนื่องติดต่อกัน 6 เดือน โดยให้ อสม.และญาติร่วมกันดูแลไม่ให้ขาดยา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากวัณโรคได้
ทั้งนี้กลุ่มที่เสี่ยงติดวัณโรคสูงกว่ากลุ่มอื่นๆได้แก่ กลุ่มผู้ต้องขัง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคไตวาย ในปี 2551 มีการสำรวจวัณโรคในพนักงานขับรถสาธารณะ ผลการตรวจกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ 1,000 คนพบภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ 36 คน หรือเกือบร้อยละ 4 จากเดิมพบเพียงร้อยละ 1 รวมทั้งกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่อยู่ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่เป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ ต้องเอ็กเรย์ดูความผิดปกติที่ปอดและทดสอบทูเบอร์คิวลินด้วย ในไทยคาดว่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปีลงมา ประมาณ ร้อยละ 5 ของวัณโรคในผู้ใหญ่ หรือประมาณ 3,000 ราย แต่การรายงานผู้ป่วยที่ผ่านมาพบเพียง 400-500 ราย เท่านั้น ทั้งนี้ ในปีนี้ไทยได้รับการสนับสนุนยารักษาวัณโรคในเด็กจากกองทุนยาโลก( Global Drug Facilities:GDF) ขององค์การอนามัยโลกฟรี จำนวน 3,000 ราย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค สามารถเข้าถึงยาวัณโรคที่ผลิตสำหรับเด็ก
ทางด้านนายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่เข้าไปทำลายปอดและอวัยวะอื่นๆและคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ อย่างมาก ทำให้ผอมแห้ง ไมมีแรงทำงาน โดยกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยในผู้ใหญ่ติดเชื้อปอด ส่วนในเด็กพบติดเชื้อที่อวัยวะอื่น เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมอง กระดูก เด็กมักจะได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่เป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ โดยเชื้อจะแพร่กระจายในอากาศ จากการไอ จาม ในห้องที่ทึบอับแสง
เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ได้นานถึง 6 เดือน เชื้อจะกระจายอยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไป บางครั้งเชื้ออาจผ่านจากแม่ไปยังลูกในท้องโดยผ่านทางรกได้
ด้านนายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ในปี 2552 นี้ จะเน้น 4 ยุทธศาสตร์หลักควบคุมวัณโรค คือ 1.เร่งรัดค้นหาผู้ป่วยที่ยังหลงเหลืออยู่ในกลุ่มพิเศษ ได้แก่ กลุ่มผู้ต้องขัง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตวาย เป็นต้น 2.เมื่อพบผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อต้องรับตัวรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ 3.กำหนดผู้รับผิดชอบเรื่องวัณโรค ในโรงพยาบาลทุกแห่ง 4.พัฒนาคุณภาพระบบการกินยาแบบมีพี่เลี้ยง โดยให้ อสม.และญาติช่วยกันกำกับไม่ให้ขาดยา มั่นใจว่าหากสามารถดำเนินการได้ครอบคลุมผู้ป่วยรายใหม่มากกว่าร้อยละ 90 จะสามารถลบชื่อไทยออกจากประเทศที่มีวัณโรคชุกในโลกได้สำเร็จ
สำหรับในวันนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำรถนำรถเอ็กซ์เรย์เคลื่อนที่ ให้บริการเอ็กซ์เรย์ปอดให้พนักงานขับรถของบริษัทขนส่ง รวมทั้งประชาชนที่สนใจ จำนวน 1,000 คน ฟรี หากพบปอดผิดปกติจะส่งตรวจเสมหะ และให้การรักษาฟรี
************************************************ 16 มีนาคม 2552
แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ
ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ
[16/มี.ค/2552]

 

 


ทุ่ม 230 ล.ระดมค้นหาผู้ป่วยวัณโรค
 เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรอยุธยา น.พ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)เปิดประชุมผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่ง สาธารณสุขอำเภอ มิสเตอร์ทีบีและอสม.ในจ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 800 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพอสม.ในการตรวจค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในหมู่บ้าน และการเป็นพี่เลี้ยงดูแลผู้ป่วยวัณโรค จากนั้นเดินทางไปทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา เพื่อรับฟังการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในเรือนจำ

น.พ.ปราชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 18 จาก 22 ประเทศที่มีอัตราป่วยวัณโรคสูงที่สุดในโลก ล่าสุดปี 2551 มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรักษา 18,341 ราย รักษาหาย 15,296 ราย คิดเป็นร้อยละ 83 ซรึ่งยังต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ คือร้อยละ 85 ในปีนี้ปรับยุทธศาสตร์ให้ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายกินยารักษาให้หายขาดภายใน 6 เดือน ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกยอมรับว่าเป็นวิธีป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดได้ผลที่สุด โดยได้รับงบสนับสนุนจากสปสช.จำนวน 230 ล้านบาท เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน หมู่บ้านต่างๆ เข้ารักษาให้หายขาด ตั้งเป้า 60,000 ราย ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยรายใหม่ รายเก่าผู้ป่วยที่เป็นซ้ำ แลระผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา

น.พ.ปราชญ์ กล่าวต่อว่า การรักษาผู้ป่วยวัณโรคสมัยนี้ใช้เวลาน้อยลงจากเดิม 2 ปี เหลือเพียง 180 วัน โดยปีนี้องค์การเภสัชกรรม(อภ.)ผลิตยารักษาวัณโรคแบบยารวม โดยรวมตัวยา 4 ชนิดในเม็ดเดียว กินวันละ 4 เม็ด จากเดิม 12 เม็ด เพื่อฆ่าเชื้อในเสมหะติดต่อกัน 60 วัน หรือจนไม่พบเชื้อในเสมหะ จากนั้นจะลดตัวยาเหลือเพียง 2 ตัวในเม็ดเดียวกัน กินต่ออีก 120 วัน จะช่วยให้ผู้ป่วยกินยาง่ายขึ้น มีโอกาสหายขาด ซึ่งจะลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนอย่างได้ผล ประการสำคัญไทยยังใช้กระบวนการีใหม่ที่จะให้ผู้ป่วยกินยาครบสูตร โดยให้อสม.เป็นพี่เลี้ยงกำกับการกินยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์การอนามัยโลกสนับสนุนแนวทางไทยเต็มที่

น.พ.ปราชญ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ จะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับอสม. ค้นหาผู้ที่มีอาการีน่าสงสัยเป็นผู้ป่วยวัณโรค คือ ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เน้นในกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ต้องขังเรือนจำ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และแรงงานต่างด้าว เมื่อพบจะรักษาด้วยยาให้หายขาด ส่วนในบ้านที่มีผู้ป่วยวัณโรคควรนำผ้าห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง ออกจากแดด เชื้อโรคจะตายภายใน 2 ชั่วโมง

ด้าน น.พ.รัตนชัย จุลเนตร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปี 2551 จ.พระนครศรีอยุธยาพบผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท 633 ราย คิดเป็นอัตราป่วยประชากรแสนละ 84 คน คาดว่าจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ระยะแพร่เชื้อ 471 ราย แต่ค้นพบเพียง 307 ราย ดังนั้น จึงมีผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อแอบแฝงอยู่ในชุมชน จึงต้องเร่งรัดดำเนินการค้นหาต่อไป โดยตลอดปี 2522 จะจัดรณรงค์ตรวจคัดกรอง รักษาผู้ป่วย และดำเนินการควบคุมโรค ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของจังหวัด เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของวัณโรค
แหล่งข่าวโดย.... เว็บไซต์ข่าวสด
ผู้จัดทำ.... สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
[18/ม.ค/2552]

 

 


สธ.ห่วงวัณโรคในเรือนจำฯ พุ่ง สั่ง สสจ.ทั่วประเทศ ประสานข้อมูลหาทางแก้ไข
 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สั่งสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ หาข้อมูลผู้ป่วยวัณโรค พร้อมหาทางควบคุมไม่ให้ผู้ที่เป็นอยู่แล้วแพร่ระบาดไปยังคนข้างเคียง

นายแพทย์ปราชญ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะ เดินทางตรวจเยี่ยมการควบคุม และการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามโครงการควบคุมวัณโรคในเรือนจำ ของกระทรวงสาธารณสุข และกรมราชทัณฑ์

ทัณฑสถานวัยหนุ่มพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ตรวจและคัดกรองผู้ต้องขังตามโครงการควบคุมวัณโรค จำนวน 1,300 ราย พบมีผู้ต้องขังป่วยเป็นวัณโรคอยู่แล้ว 13 ราย ได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ และพยาบาลโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ตามข้อบัญญัติ 10 ประการ สำหรับการควบคุมวัณโรคในเรือนจำ โดยกำหนดให้มีการให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ผู้ต้องขัง คัดกรองตรวจหาผู้ป่วยทุก 6 เดือน จัดให้มีห้องแยกผู้ป่วยในเรือนจำ มี MR.TB คอยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา 180 มื้ออย่างครบถ้วน และผู้ป่วยในระยะแพร่เชื้อต้องสวมหน้ากากอนามัย ที่สำคัญในเรือนจำต้องมีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี เครื่องนอนต้องสะอาด และมีระบบการติดตามผู้ต้องขังที่ปล่อยตัวก่อนรักษาครบ

สำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการคัดกรองผู้ต้องขัง ในจังหวัดฯ 4 แห่ง ประกอบด้วย เรือนจำกลางฯ เรือนจำจังหวัดฯ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษฯ และทัณฑสถานวัยหนุ่มฯ จำนวน 6,271 ราย พบการเอ็กซเรย์ปอดมีผลผิดปกติ 235 ราย การตรวจเสมหะมีผลบวก จำนวน 10 ราย

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยอมรับว่า เป็นห่วงสถานการณ์วัณโรคในเรือนจำ และทัณฑสถานทั่วประเทศ เนื่องจากผู้ต้องขังจะอยู่ร่วมกันอย่างแออัด ซึ่งหากผู้ที่เป็นวัณโรคอยู่แล้ว และมีการคัดกรอง หรือแยกห้องขัง ก็จะทำให้เชื้อวัณโรคแพร่ระบาดง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม สั่งการให้สาธารณสุขจังหวัดฯ ในทั่วประเทศ ประสานกับเรือนจำ และทัณฑสถาน ต่างๆ เพื่อเข้าไปตรวจและคัดกรอง ผู้ที่ป่วยแยกออกจากผู้ที่มีอาการปกติ เพราะจะได้ลดผู้ที่ป่วยจากวัณโรค หากพ้นโทษออกสู่สังคม
แหล่งข่าวโดย.... กรมประชาสัมพันธ์
ผู้จัดทำ.... สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข
[16/ม.ค/2552]

 

 


ปลัด สธ.เผยผู้ต้องขัง ป่วยวัณโรคสูงกว่าคนทั่วไปถึง 11 เท่าตัว
 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เร่งควบคุมป้องกันวัณโรคในเรือนจำ เผยขณะนี้มีผู้ต้องขังทั่วประเทศ ติดเชื้อวัณโรค กว่า 1,500 คน อัตราป่วยสูงกว่าคนทั่วไปถึง 11 เท่าตัว สาเหตุจาก ความแออัด และเผชิญปัจจัยเสี่ยงเช่น ขาดสารอาหาร ความเครียด ติดสารเสพติด รวมทั้งติดเชื้อ เอชไอวี ทำให้ติดเชื้อง่าย

วันนี้ (8 ธันวาคม 2551) นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และทัณฑสถานหญิงกลาง เพื่อติดตามมาตรการควบคุมป้องกันโรควัณโรค และให้สัมภาษณ์ว่า วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของเรือนจำทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากมีสภาพความแออัด ผู้ต้องขังอยู่กันอย่างหนาแน่น และยังมีปัจจัยเสี่ยงทำให้ผู้ต้องขังติดเชื้อวัณโรคง่าย ได้แก่ การขาดสารอาหาร ความเครียด การติดสารเสพติด รวมทั้งติดเชื้อ เอชไอวีมาก่อน ทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ อัตราป่วยวัณโรค ของผู้ต้องขังจึงสูงกว่าประชากรทั่วไปถึง 11 เท่าตัว ในปี 2552 นี้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายเร่งกวาดล้างวัณโรค ให้หมดจากทุกพื้นที่ และจะทำให้เรือนจำทุกแห่งปลอดวัณโรค
นายแพทย์ปราชญ์กล่าวว่า ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง มีผู้ต้องขังเป็นหญิงทั้งหมด 3,056 คน ติดเชื้อวัณโรค 13 คน ส่วนเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ผู้ต้องขังเป็นชายทั้งหมด 4,410 คน มีผู้ป่วยวัณโรค 27 คน ทั้งนี้ในภาพรวมของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ล่าสุดในปี 2550 มีเรือนจำ/ทัณฑสถาน 141 แห่ง มีผู้ต้องขัง 163,000 คน พบผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมด 1,511 ราย เมื่อเทียบอัตราป่วยต่อประชากรทุก 1 แสนคน พบว่าในกลุ่มผู้ต้องขังมีอัตราป่วย 927 คน ในขณะที่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปมีอัตราป่วยเพียง 85 ราย โดยในเรือนจำนั้น พบผู้ป่วยรายใหม่ที่มีเชื้อในเสมหะที่พร้อมนำไปติดคนอื่นได้ 907 ราย ในจำนวนนี้ติดเชื้อซ้ำ 140 ราย

ในด้านการรักษา กระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้กรมควบคุมโรค ควบคุมวัณโรคในเรือนจำ ร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ตามระบบควบคุมวัณโรคแห่งชาติ โดยให้กินยาฆ่าเชื้อติดต่อกัน 180 วัน มีพี่เลี้ยงกำกับติดตาม แต่ผลการรักษาหายขาดได้เพียงร้อยละ 77 ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85 เนื่องจากผู้ต้องขังเสียชีวิตระหว่างรักษา และพ้นโทษก่อนรักษาครบกำหนด ขาดการรักษาต่อเนื่อง

นายแพทย์ปราชญ์ กล่าวต่อว่า ในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรม ในการเร่งรัดควบคุมวัณโรคในเรือนจำ ตั้งเป้าค้นหาผู้ป่วยรายใหม่โดยเร็ว และเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อให้ได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 85 โดยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดดูแลผู้ป่วย ร่วมกับเจ้าหน้าที่พยาบาลในเรือนจำ เพื่อให้ระบบการดูแลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ มีระบบติดตามผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดยาและดื้อยา ส่วนผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี จะได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีและตรวจหาเชื้อวัณโรคควบคู่ไปด้วย
ทั้งนี้ ผู้ต้องขังร้อยละ 70 มีสิทธิตามโครงการ 30 บาท ในกทม. ทัณฑสถานโรงพยาบาล เป็นหน่วยบริการหลักรับเงินโดยตรงจาก สปสช.ส่วนในต่างจังหวัดโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ จะให้บริการตามสิทธิ ส่วนผู้ต้องขังอื่นๆ ที่ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ก็จะให้การสงเคราะห์ค่ารักษา ดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน ที่ผ่านมาพบว่าไม่มีปัญหาในเรื่องการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

*********** 8 ธันวาคม 2551
แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ
ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ
[8/ธ.ค/2551]
 






dot
บทความสำคัญ / Download
dot
bulletการปรับปรุงห้องผ่าตัด
bulletคุณภาพอากาศอาคารพักอาศัย
bulletการเลือกเครื่องฟอกอากาศ
bulletเครื่องมือจัดการคุณภาพอากาศ
bulletงานศึกษาวิจัย
bulletรางวัลผลงาน
bulletผลงานอ้างอิง
bulletเปรียบเทียบค่าใชัจ่าย
bulletGreen Building , LEED
bulletASHARE 52.2
dot
ฝากที่อยู่ไว้ เราจะติดต่อ,ส่งข้อมูลกลับ

dot
dot
รู้จักพิษภัยทางอากาศที่สำคัญ
dot
bulletไข้หวัดใหญ่ 2009
bulletวัณโรค TB
bulletไข้หวัดนก Bird Flu
bulletไข้หวัดซาร์ Sars
bulletไข้หวัดใหญ่ Influenza
dot
ข่าวสารพิษภัยทางอากาศ
dot
bulletข่าวเตือนภัยวัณโรค
bulletข่าวเตือนภัยไข้หวัด
dot
งานวิชาการ
dot
bulletภาพงานวิชาการ
dot
Guidelines in Healthcare Facilities
dot


Practical Guidelines for Infection Control in Health Care Facilities
Guidance for Filtration and Air-Cleaning Systems to Protect Building Environmemts
Guideline for Environmental Infection Control in Health-Care Facilities, 2003
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
Leadership in Energy and Environmental Design,LEED


Copyright © 2008-2012 All Rights Reserved. VORAVITCH SINGHANART
สนใจผลิตภัณฑ์ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม บรรยาย,คำปรึกษาการออกแบบ Clean Room, Isolation Room วรวิชญ์ สิงหนาท B.Ind.TECH (Civil Engineering) M.A.(Resources&Environment) Tel : 085-1122-422 Fax : 00 Email : voravitch@hotmail.com